สัญญาว่าจ้าง

 

ตัวอย่างสัญญาว่าจ้าง ธนบุรีการ์ด แอนด์ เซอร์วิส จำกัด

ตัวอย่าง

สัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย

                หนังสือฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่         เดือน                                พ.ศ.                ระหว่าง

ตั้งอยู่เลขที่               ซอย                        ถนน                         แขวง                             เขต    กรุงเทพมหานคร  10400 โดย                                       ซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่า  “ ผู้ว่าจ้าง “  ฝ่ายหนึ่ง  กับ  บริษัท ธนบุรี การ์ด แอนด์ เซอร์วิส  จำกัด  เลขที่  9/553 ซอยตลาดรามอินทรา กม.2  ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220  โดย  นายอำนวย  ใจบุญ   ตำแหน่ง  กรรมการผู้จัดการ  ซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่า  “ ผู้รับจ้าง “  อีกฝ่ายหนึ่ง  ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญาไว้ต่อกันดังต่อไปนี้

ข้อ  1.    ผู้ว่าจ้างตกลงให้ผู้รับจ้าง  จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยเข้าไปดำเนินการรักษาความปลอดภัยในบริเวณ                                                    ซึ่งเป็นหน่วยงานของผู้ว่าจ้าง

การรักษาความปลอดภัยตามสัญญานี้  หมายถึง มาตรการตรวจดูแลเฝ้าป้องกันรักษาทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างมิให้เกิดความเสียหายหรือสูญหายไปโดยการกระทำของคนร้าย และ/หรือ   การมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบเป็นกรณีเฉพาะ  (ถ้ามี)  คือ

(1)       ผู้รับจ้างต้องจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยทำหน้าที่ดูแลบริเวณด้านข้างอาคาร

และด้านหน้าโต๊ะพนักงาน

(2)       พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องรับโทรศัพท์ของผู้ว่าจ้างด้วย

(3)       พนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ต้องรับแจ้งเหตุขัดข้องต่าง ๆของผู้ว่าจ้างด้วย

ข้อ  2.    ผู้รับจ้าง    ตกลงจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยเข้าไปบริการรักษาความปลอดภัยให้กับ

ทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างตามข้อตกลงในสัญญานี้  นับตั้งแต่วันที่        เดือน                           พ.ศ.

ถึงวันที่        เดือน        พ.ศ.

ข้อ  3.    ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างให้กับผู้รับจ้าง  ในอัตราเดือนละ                     บาท        (                                                     )

3.1       พนักงานรักษาความปลอดภัย

ดูแลระหว่าง            07.00 – 19.00 น.                               จำนวน                                   นาย

ดูแลระหว่าง            19.00 – 07.00 น.                               จำนวน                                   นาย

(อัตราค่าจ้างนายละ                บาท)

3.3      อุปกรณ์เสริมพิเศษ  ไฟฉาย,  กุญแจ,  กระบอง,  เสื้อกันฝน,  รองเท้าบูท,  ถุงมือจราจร

ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา

ข้อ  4.    อัตราค่าจ้างตามข้อ 3  หากมีการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำใหม่  โดยผลของกฎหมายแรง

งาน    ผู้รับจ้างอาจปรับค่าจ้างให้สูงเพิ่มขึ้น  โดยผู้รับจ้างจะแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ  และหากผู้ว่าจ้างเห็นสมควรประการใด    ต้องตอบให้ผู้รับจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน  7  วัน    นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากผู้รับจ้าง

ข้อ  5.    การจ่ายค่าจ้าง  ผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้าง โดยจะวางบิลในวันที่  30  ของทุกเดือน  และให้ผู้รับจ้างรับเช็คไม่เกิน   วันที่ 5 ของทุกเดือน  ถัดจากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยผ่านพ้นไปแล้ว  และเงินค่าจ้างดังกล่าวนี้ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิยึดหน่วงหรือถ่วงเวลาได้เกินกำหนด  หรือยึดไว้เพื่อหักลบหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้  ยกเว้นแต่ได้รับความยินยอมจากผู้รับจ้างแล้วเท่านั้น  ถ้าหากผู้ว่าจ้างยึดหน่วงเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างควรจะได้รับ  หรือถ่วงเวลาไม่จ่ายเงินค่าจ้างตามกำหนดไม่ว่ากรณีใดๆ  ให้ถือว่าผู้ว่าจ้างผิดสัญญา  ผู้ว่าจ้างยินยอมให้ผู้รับจ้างคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินค่าจ้างที่ค้างชำระได้    ในอัตราร้อยละ  15  ต่อปี

ข้อ  6.    ผู้ว่าจ้าง  จะต้องไม่มอบหมายงานอย่างอื่นซึ่งโดยธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปมิใช่งานของพนักงานรักษาความปลอดภัยให้กับพนักงานรักษาความปลอดภัยของผู้รับจ้าง  อันเป็นการกระทำให้การปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยของพนักงานผู้รับจ้างเกิดความบกพร่องขึ้น

ข้อ  7.    ผู้ว่าจ้าง  สัญญาว่าจะให้สวัสดิการพอสมควรแก่อัตภาพของพนักงานรักษาความปลอดภัย

เป็นต้นว่า  ที่พักชั่วคราวก่อนปฏิบัติหน้าที่  ห้องน้ำ  น้ำดื่ม  และกระแสไฟฟ้าเพื่อแสงสว่าง  เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่

ข้อ  8.    หนังสือสัญญานี้มีระยะเวลา  1  ปี  นับตั้งแต่วันที่ปฏิบัติหน้าที่  และอาจถูกบอกเลิกก่อนครบกำหนดโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้  ทั้งนี้  การบอกเลิกสัญญาจะต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้า   ไม่น้อยกว่า  30   วัน  และเมื่อครบสัญญาแล้ว  หรือผู้รับจ้างไม่สามารถให้บริการตามที่ได้ตกลงกันไว้ในเบื้องต้น      ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกจ้างได้ในทันที  หากไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญา  ก็ให้ถือว่าสัญญานี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกทุก ๆ    1   ปี

8.1     กรณีผู้ว่าจ้างแจ้งให้ผู้รับจ้างเปลี่ยนพนักงานรักษาความปลอดภัยผู้รับจ้างจะต้องรีบ

ดำเนินการเปลี่ยนให้ภายใน  7  วัน   หลังจากได้รับแจ้งจากผู้ว่าจ้าง  ถ้าหากผู้รับจ้างไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จ  ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกจ้างได้

ข้อ  9.    ภายใต้บังคับสัญญา  ข้อ  11.  กรณีที่ทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างเสียหาย  หรือสูญหายขึ้นในบริเวณความรับผิดชอบของพนักงานรักษาความปลอดภัย  ผู้ว่าจ้างจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้

9.1      ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบโดยเร็วที่สุดภายในเวลา  24  ชั่วโมง  ด้วย

วาจา  และต้องทำหนังสือตามไปภายใน  72  ชั่วโมง  นับแต่เกิดการเสียหายหรือสูญหายขึ้น

9.2  ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งความร้องทุกข์  เพื่อดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดต่อพนักงานสอบสวน ณ   สถานีตำรวจท้องที่  ที่เกิดเหตุภายใน  7  วัน  นับแต่เมื่อเกิดการเสียหาย  หรือสูญหายขึ้น

9.3  ผู้ว่าจ้างจะต้องไม่เคลื่อนย้ายสิ่งของ  หรือทำลาย  หรือลบร่องรอยใด ๆ ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ  และผู้รับจ้างจะต้องส่งเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้รับจ้างออกไปตรวจสอบสถานที่    และความเสียหายที่เกิดขึ้นภายใน  24  ชั่วโมง    หลังจากที่รับแจ้งจากผู้ว่าจ้างแล้ว

9.5      ในการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือสูญหายใด ๆ  จากผู้รับจ้าง  ผู้ว่าจ้างจะต้องนำ

หลักฐานเกี่ยวกับการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  และหลักฐานแสดงการได้มา   และมีอยู่

อยู่ของทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหายนั้น  ๆ    แนบพร้อมกับหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย

9.5  ผู้ว่าจ้างสัญญาว่าในระหว่างการสอบสวนของผู้รับจ้างเกี่ยวกับการเสียหาย  หรือสูญหายของทรัพย์สิน  ผู้ว่าจ้างจะไม่ยึดหน่วงเหนี่ยวหรือถ่วงไว้ของเงินค่าจ้างที่จะต้องชำระแก่ผู้รับจ้าง

ตามสัญญา  ข้อ  5.

ข้อ 10.   หากผู้ว่าจ้างมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข  ข้อใดข้อหนึ่ง  ในสัญญาข้อ  9.  และมีการเรียกร้อง

ค่าเสียหายหรือสูญหายที่เกิดขึ้น   ผู้รับจ้างจะไม่รับผิดชอบในการชดใช้ค่าเสียหายหรือสูญหายใด  ๆ  ทั้งสิ้น

ข้อ 11.   ผู้รับจ้างจะรับผิดชอบต่อการเสียหาย   หรือสูญหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง      จากกรณี  ที่การกระทำที่เกิดขึ้นเป็นการจงใจเจตนาของพนักงานรักษาความปลอดภัยของผู้รับจ้าง  ซึ่งปรากฏร่องรอยโจรกรรมเป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้ง  เช่น  การเจาะ,  ตัด,  งัดแงะ,  ทำลาย,  เครื่องอุปกรณ์ป้องกันทรัพย์สิน  เพื่อทำการโจรกรรมทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง  หรือเกิดจากความประมาทเลินเล่อ  หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยของผู้รับจ้าง  ผู้รับจ้างจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย  เช่น  การจลาจล,  อัคคีภัย,  วาตภัย,  หรือภัยอันเกิดจากธรรมชาติ  และหรือเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้ว่าจ้าง

ข้อ  12.  จำนวนเงินที่ผู้ว่าจ้างจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายหรือสูญหายต่อครั้ง  จะต้องคิดตามราคาทุนของทรัพย์สินที่เสียหาย  หรือสูญหาย  โดยหักลบความเสื่อมค่าตามอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้น ๆ   ตามที่เป็นจริงและอยู่ในวงเงินไม่เกิน  2  เท่า  ของอัตราค่าจ้างต่อเดือน

12.1                       การชดใช้ค่าเสียหายผู้รับจ้างจะดำเนินการชดใช้ให้แล้วเสร็จภายใน  90  วัน  หลังจาก

เจ้าหน้าที่ฝ่ายผู้รับจ้างได้ดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน  และพิจารณาเงื่อนไขจนเป็นที่ยุติแล้วว่าฝ่ายผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิด

ข้อ  13.  ผู้รับจ้าง จะไม่รับผิดชอบต่อการเสียหาย  หรือสูญหายของทรัพย์สินที่เป็นของใช้

ส่วนตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่  หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ  และผู้รับจ้างย่อมปราศจากความผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใด  ๆ   อันเกิดกับรถยนต์    (ยกเว้นกรณีที่รถยนต์โดนเฉี่ยวชนหรือมีร่องรอยการถูกกรีดในบริเวณที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของผู้รับจ้างดูแล )        ซึ่งเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานรักษาความปลอดภัยเอง      ผู้รับจ้างยินยอมชดใช้ค่าเสียตามที่เกิดขึ้นจริง   แต่ไม่เกินครั้งละ    3,000. – บาท  (  สามพันบาทถ้วน  )    ผู้รับจ้างจะไม่รับผิดชอบต่อการเสียหาย  หรือสูญหายทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้โดยง่าย  เช่น   โบราณวัตถุ    ศิลปวัตถุ   เงินตรา  ธนบัตร  ต้นฉบับเอกสาร  โฉนด  แบบแปลน  แผนผัง  ภาพเขียน  หลักประกัน   หนี้สิน   หลักทรัพย์  หรือเอกสารต่าง  ๆ    บัตรเครดิต   เช็ค   สมุดบัญชี    หรือหนังสือเอกสารอื่น ๆ   อันเกี่ยวกับธุรกิจ   เครื่องประดับ  อัญมณี  นาฬิกา   คอมพิวเตอร์   โน๊ตบุค  กล้องดิจิตอล  โทรศัพท์มือถือ   กล้องวีดีโอ   เป็นต้น

ข้อ  14.  ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งรายการทรัพย์สินที่สำคัญที่ผู้ว่าจ้างได้มอบหมายให้ผู้รับจ้าง

จัดบริการรักษาความปลอดภัยให้เป็นลายลักษณ์อักษร   และกำหนดเขตความรับผิดชอบของพนักงานรักษา

ความปลอดภัย   ให้ผู้รับจ้างทราบก่อนที่ผู้รับจ้างจะจัดพนักงานของผู้รับจ้างเข้าไปบริการรักษาวามปลอดภัย

ให้กับผู้ว่าจ้าง   เว้นแต่ทรัพย์สินตามสภาพแล้วไม่อาจจะกำหนดจากจำนวนที่แน่นอนได้

ข้อ  15.  การเพิ่มลดหรือการเปลี่ยนจุดรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตามความเหมาะสม

กับสภาพของกิจการของผู้ว่าจ้าง   แต่ทั้งนี้  จะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยกันทั้งสองฝ่าย    ผู้ว่าจ้าง  และผู้รับจ้าง  ส่วนเงื่อนไขการจ้างให้ถือตามข้อตกลงแห่งสัญญานี้โดยอนุโลม

ข้อ  16.  ในกรณีที่ผู้รับจ้างได้พิจารณาเห็นแล้วว่า  บริเวณรักษาความปลอดภัย  จุดใดอยู่ในลักษณะ

ที่ไม่ปลอดภัย  เช่นแสงสว่างไม่พอ   รั้วขาด  กำแพงพัง  หรืออย่างใดอย่างหนึ่งอันจะเป็นช่องทางให้คนร้าย

ใช้เป็นที่ซ่อนกำบัง   แอบแฝง  หรือซ่อนเร้น  เพื่อจะทำการโจรกรรม   เมื่อผู้รับจ้างได้แจ้งเสนอแนะ

มาตรการให้ผู้ว่าจ้างจัดการซ่อม    แก้ไข  หรือติดตั้งต่อเติมให้ดีขึ้น   แต่ทางผู้ว่าจ้างมิได้สนใจนำพาหรือมิได้มีการซ่อมแซมแก้ไขให้ดีขึ้น   เมื่อมีการโจรกรรมเกิดขึ้น   ณ  จุดที่ไม่ปลอดภัยนั้น ๆ  ผู้รับจ้างจะไม่รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายนั้น  ๆ

ข้อ  17.  การแก้ไข  การเปลี่ยนแปลง  เพิ่มเติมข้อกำหนดในสัญญา  จะต้องทำเป็นลายลักษณ์

อักษรระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย  และข้อความที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมดังกล่าว  ให้ถือเป็น

ส่วนหนึ่งของสัญญานี้ด้วย

ทั้งสองฝ่ายได้อ่านข้อความตามสัญญานี้โดยตลอดแล้ว  เห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนาของตน

ทุกประการ   จึงได้ลงลายมือไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน  และต่างฝ่ายต่างเก็บรักษาไว้  คนละฉบับ

ลงชื่อ ____________________________ผู้ว่าจ้าง      ลงชื่อ ____________________________ผู้รับจ้าง

(                                                      )                          (                                                       )

ลงชื่อ___________________________พยาน            ลงชื่อ___________________________พยาน

(                                                )                                                                                      )

Leave a reply

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>